การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

กศน. ตำบลในวงเหนือ

 



                        กศน. ตำบลในวงเหนือ เป็นสถานศึกษาสังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละอุ่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระนอง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ  อ่านต่อ







                  

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนายสุรัตน์ ผิวดำ



 ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนายสุรัตน์ ผิวดำ ตำบลละอุ่นเหนือ ที่ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๓๐ หมู่ที่ ๑ ตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เวลาเปิด ๐๙.๐๐ น. ปิดเวลา ๑๖.๐๐ น. อ่านต่อ

จุดชมวิวควนเขากล้อง

 


                    จุดชมวิวควนเขากล้อง อยู่ในตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง จุดชมวิวอยู่ระหว่างรอยต่อตำบลละอุ่นเหนือและตำบลในวงเหนือของอำเภอละอุ่น ทีมาของจุดชมวิวควนเขากล้องเมื่อก่อนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีไม้ไผ่กล้องขึ้นเป็นจำนวนมากและเป็นพื้นที่ลาดชันหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า (ควน) ต่อมามีถนนตัดผ่านไปยังบ้านในวง จึงมีชื่อว่า ควนเขากล้อง และได้มีการพัฒนาเป็นจุดชมวิวควนเขากล้องที่สวยงาม น่าจะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จึงมีการพัฒนา เพื่อทำเป็นจุดชมวิว อ่านต่อ

วัดประทุมสาคร

 


                วัดประทุมสาคร ตั้งอยู่ที่บ้านนายาว หมู่ที่ 1 ตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 196 ทิศเหนือยาว 150 เมตร ติดต่อกับสวนและที่นาของเอกชน ทิศใต้ยาว 120 เมตร ติดต่อกับห้วยต้นสะท้อน ทิศตะวันออกยาว 100 เมตร ติดต่อกับที่นาของนายจรูญ ชยุติ ทิศตะวันตกยาว 15 เมตร ติดต่อกับแม่น้ำละอุ่น  อ่านต่อ

น้ำตกดาดพ่อตา

 



               น้ำตกดาดพ่อตา บ้านบางนอนไน หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 โดยชาวบ้านเล่าขานกันต่อๆ กันมาว่าในสมัยก่อนมีการทำเหมืองแร่และได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำ ซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาหินก้อนใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกผาหินนี้ว่า ดาดหิน ซึ่งต่อมาได้ตั้งศาลไม้ขึ้นมาเพื่อกราบไหว้เป็นที่พึ่งทางใจ จึงเรียกว่า “ศาลดาดพ่อตา” ต่อมาศาลไม้ได้ทรุดโทรมชำรุด ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นเมื่อเข้าไปทำไร่ทำสวน ก็ได้สร้างศาลขึ้นมาใหม่ตามสวนตามบ้านที่อยู่อาศัยและเรียกขานใหม่ว่า “ศาลพ่อตา” จนถึงปัจจุบันนี้ ร่องรอยประวัติความเป็นมาของการสร้างชุมชนดาดพ่อตาที่พอจะมีอยู่ก็คือ ขุมเหมืองร้างเหมือนเก่า และหลุมถ่านโบราณที่อยู่บนป่าบริเวณน้ำตกดาดพ่อ ต่อมาได้มีการสร้างฝายน้ำล้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้และใช้เป็นน้ำประปาของหมู่บ้าน  อ่านต่อ

ถนนคนเดินหงาว

 


                     จังหวัดระนอง โดยเทศบาลตำบลหงาว ได้เปิดกิจกรรมถนนคนเดิน ตลาดนัดวัฒนธรรม ชุมชนคนบ้านหงาว ประจำปี 2562 ที่จะจัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. บริเวณหน้าตลาดเทศบาลตำบลหงาว จนถึงบริเวณหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหงาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่ชุมชนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน ในการอนุรักษ์สืบทอด ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในกิจกรรมมีการเปิดร้านแสดงสินค้าหลากหลายประเภท สินค้าทางวัฒนธรรม อาหารพื้นบ้าน เครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบล พร้อมทั้งรณรงค์ให้พ่อค้าแม่ค้าลดใช้ถุงพลาสติก นักท่องเที่ยวและผู้เยี่ยมชมพกถุงผ้ามาใช้ในการซื้อสินค้า รวมถึงการแสดงพื้นบ้านจากเยาวชน ณ เวทีกลาง นอกจากนี้ ภายในงานมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ คอยดูแลเรื่องการจราจร ความปลอดภัย และมีรถสองแถวไม้ให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวจากวัดบ้านหงาว เพื่อไปยังบริเวณจุดจัดถนนคนเดิน อีกด้วย  อ่านต่อ

การถือศีลอด

 

                การถือศีลอดตามความหมายทางศาสนาของอิสลาม คือการงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ และการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอนของทุกปีซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน โดยมีเจตนาว่าทำเพื่ออัลลอฮฺ อ่านต่อ

ก้องวัลเลย์

 


               ก้องวัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงมากว่า 40 ปี โดยแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟภายใต้ชื่อการค้า ก้องกาแฟ และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ ภายใต้ชื่อ ก้องวัลเลย์ โดยรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรและให้เกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง จึงทำให้ก้องกาแฟได้กาแฟคุณภาพดีกว่าท้องตลาด โดยนำมาคัดเมล็ด คั่ว บด และบรรจุลงถุงที่มีมาตรฐาน ความโดดเด่นของกาแฟก้องวัลเลย์ คือ การทำกาแฟด้วยกรรมวิธีที่โบราณ ตั้งแต่การปลูก เก็บเมล็ด ตาก บ่ม และคั่วมือในกระทะเล็กๆ และบดด้วยมือ ทำให้ยังคงรักษากลิ่นหอมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของโรบัสต้า รวมถึงรสชาติรวมถึงความหวานของเมล็ดกาแฟไว้ได้ ทำให้เมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่หลายคนมองว่าเข้มและขมกลายเป็นรสชาติที่กลมกล่อม ทำให้ก้องคอฟฟี่มีรสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กลายเป็นกาแฟที่มีชื่อเสียงส่งขายไปทั่วโลก ที่คอกาแฟต้องลองไปชิมสักครั้ง อ่านต่อ

ปลาเค็มฝังทรายไร้แดด

 


                    บ้านในไร่ มีครัวเรือนยึดการประกอบอาชีพทำการเกษตร สวนยางพารา สวน ปาล์ม ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ขาดรายได้ และปลาเค็มเป็นอาหารที่หายาก ปราชญ์ ชุมชนจึงได้นำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับจากศูนย์เรียนรู้ปลาเค็มฝังดินไร้แดด ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง มาทดลองทำกับปลาน้ำจืดที่หา ได้ในท้องที่ของอำเภอละอุ่น เริ่มจากการลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ เมื่อการทดลองสำเร็จ และเป็นที่น่าพึงพอใจ จึงทำการขยายผลสู่ครัวเรือน โดยนางประไพพรรณ พรหมคง ผู้ริเริ่มทดลอง ได้ผันตัวเองมาเป็นวิทยากรในเรื่องนี้ เพราะอยากให้กลุ่มคนที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ ปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อจัดตั้ง “กลุ่มปลาเค็ม ฝังทรายไร้แดด” จำนวน ๘ คน รายได้สมาชิกกลุ่มมีรายได้ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท/เดือน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มปลาเค็มฝังทราย ไร้แดด ก็คือ การเข้ามาสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ ทำเพิ่มมูลค่าปลาในครัวเรือนที่มีอยู่ที่ใกล้เสีย สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้ในช่วงฤดูฝน ทำการผลิตบน พื้นฐานความต้องการของคนในชุมชน พื้นที่ชุมชนเป็นที่ที่ห่างไกลจากทะเล ซึ่งการทำปลาเค็มฝังทรายเป็นอาหารที่ สามารถเก็บไว้ได้นาน อ่านต่อ

เสื่อกก ตำบลในวงเหนือ

 



                    ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อกก บ้านในวง ตำบลในวงเหนือชาวบ้านส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากทางภาคอีสาน ทักษะความชำนาญเกี่ยวกับการทอเสื่อกกมี การสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้น เมื่อได้มาตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลในวงเหนือแห่งนี้แล้วจึงได้พัฒนา นาต่อยอดจากภูมิปัญญาเดิม มีการทอเสื่อและปลูกกกเป็นวัตถุดิบไว้ใช้กันเองภายในหมู่บ้านโดยแบ่งเป็นแปลง เล็ก ๆรูปแบบสีสันของเสื่อที่ทอมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมให้ดูสวยงามตามยุคสมัยมากขึ้นและ สามารถพกพาได้สะดวกความนิยมในการใช้เสื่อกกจึงยังคงมีความต้องการมากขึ้น อ่านต่อ

การทำปลาเค็มฝังทราย

 


               กลุ่มสตรีบ้านไร่ใต้ ม.๑ ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ต้องการมีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและนำความความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในสังคมยุคปัจจุบัน โดยเริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกตั้งแต่ ปี ๒๕๖๓ ในรูปแบบกลุ่มสนใจ การทำปลาเค็มฝังทราย หลักสูตร ๖ ชม. และได้ทำการต่อยอดจนมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่า-จัดจำหน่าย  อ่านต่อ


วัดวารีบรรพต

 



            วัดวารีบรรพต หรือ วัดบางนอน เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขา ล้อมรอบไปด้วยภูเขา วัดแห่งนี้สร้างโดยหลวงพ่อด่วน ถามวโร ท่านเป็นพระธุดงค์ที่มาจากจังหวัดสงขลา เป็นพระเกจิอาจารย์ด้านวิปัสสนา ชาวบ้านเลื่อมใสและศรัทธาในตัวท่านมากเนื่องมาจากหลวงพ่อด่วนได้นำหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้มาปลุกเสก และได้ให้ประชาชนนำไปบูชา มีอภินิหาร เช่น เชื่อว่าอาวุธปืนยิงไม่ออก จึงได้พากันนิมนต์ท่านให้จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้  อ่านต่อ

ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ

 



                ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ    ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลบางนอน ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อทำกิจกรรม ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ ที่หลากหลาย เช่น การเพ้นผ้าถุงปาเต๊ะ การเย็บหมวกจากผ้าปาเต๊ะ การตัดเย็บกระเป๋าจากผ้าปาเต๊ะ และการตกแต่งกระเป๋าเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างเป็นอาชีพเสริม สร้างเป็นรายได้เสริม


ถ้ำพระขยางค์

 

                ถ้ำพระขยางค์ เดิมชื่อ ถ้ำเขาหยั่ง ตั้งอยู่ในเทือกเขาเขตตําบลลําเลียง ซึ่งห่างจากที่ว่าการอําเภอกระบุรี 18 กิโลเมตร ถ้ำพระขยางค์เป็นถ้ำขนาดเล็ก ที่มีตํานานเก่าแก่ที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองกระบุรี โดยถ้ำมีความยาวเข้าไปจากปากถ้ำประมาณ 40 เมตร ซึ่งจะมีบันไดที่สามารถขึ้นไปด้านบน แล้วสามารถทะลุออกภายนอกได้ โดยบริเวณนี้เชื่อกันว่า มีการนําเอาสมุนไพรที่หายากมาปลูกไว้

                สำหรับการเที่ยวชมควรเตรียมเทียนไข หรือไฟฉายพกติดตัวไปด้วยเพื่อเพิ่มความสว่างในการเดินชมบรรยากาศภายถ้ำซึ่งบรรยากาศภายในถ้ำค่อนข้างอับชื้น ส่วนหนึ่งมีผลมาจากมูลของค้างคาวที่อาศัยอยู่ภายในถ้ำเป็นจํานวนมากจึงมีกลิ่นอายธรรมชาติของมูลค้างคาว และควรเตรียมเทียนไขหรือไฟฉายติดตัวไปด้วย เมื่อออกมานอกถ้ำจะสัมผัสได้ถึงความชุ่มเย็นจากไม้ป่าชายเลนที่ปกคลุม มีสะพานทอดไปในป่า ซึ่งเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางร่วม 1 กิโลเมตร คุณจะพบกับพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ยืนต้น และไม้อิงอาศัยจำพวกเฟิร์น หากมาเที่ยวในช่วงน้ำลง จะได้พบปู ปลาสารพัดชนิด และปลาตีนอยู่ทั่วไปตามป่าชายเลน  อ่านต่อ

บ้านเขาฝาชี สะพาน ๓๐

 

            

                บ้านเขาฝาชี อยู่ห่างจากตัวเมืองระนอง ๓๐ กิโลเมตร การเดินทางโดยไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ขึ้นกับอำเภอเมืองระนอง และได้ยกฐานะเป็นอำเภออีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๖ โดยมีอาณาเขตปกครอง ทิศเหนือติดต่ออำเภอกระบุรี และจังหวัดชุมพร ทิศใต้ติดต่ออำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งเป็นลำคลองที่ติดกับอำเภอละอุ่น สองฝั่งแม่น้ำ จึงมีสภาพนิเวศแบบป่าชายเลนไปตลอดจนถึงเขตอำเภอละอุ่น บริเวณปากคลองละอุ่น ปากน้ำละอุ่น เป็นแหล่งที่บรรจบของแม่น้ำ ๒ สายสำคัญของละอุ่น คือ คลองละอุ่น คลองบางแก้ว มีพันธ์ปลาน้ำกร่อยอุดมสมบูรณ์ ยามหน้าหนาวเป็นแหล่งชมหิ่งห้อย ที่สวยงามในยามค่ำคืน   อ่านต่อ

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรผสมผสาน

 


บ้านม่วงกลวง(สวนลุงแดง)

    ถ้าจะให้พูดถึงศูนย์เรียนรู้การเกษตรผสมผสานในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง แน่นอนเหลือเกินว่า 1 ในศูนย์เรียนรู้เหล่านี้ต้องมีที่นี้อย่างแน่นอน นั้นก็คือ สวนลุงแดง นั้นเอง

หลักสูตรจัดฝึกอบรม

    วิถีชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกปาล์มด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำน้ำส้มควันไม้ การทำน้ำผลไม้ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การเลี้ยงโคเนื้อ การทำปุ๋ยชีวภาพ การหั่นทางปาล์ม การทำปุ๋ยอัดเม็ด สมุนไพรกับชีวติประจำวัน การดูงานเรื่อง การเลี้ยงปลาน้ำเค็มในกระชัง และการทำบัญชีครัวเรือน อ่านต่อ

ข้อมูลทั่วไปของปราชญ์ชาวบ้าน

ชื่อ- สกุล นายแดง มีแสง

วัน/เดือน/ปี เกิด 19 เมษายน 2485

ที่อยู่ เลขที่ 2/10 หมู่ที่1 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์

จังหวัดระนอง โทรศัพท์ 08-6120-991-4