การบริหารจัดการ account

ประวัติ TKP

การทำน้ำตาลจาก

 

การทำน้ำตาลในอำเภอปากพนัง ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษานั้นจะมีช่วงของการผลิตช่วงละ 3-4 เดือน ซึ่งในรอบปีสามารถเข้าไปปาดน้ำตาลได้ 8 เดือน มีระยะการเตรียมการอยู่ 2 เดือน ซึ่งในรอบปีสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ปีละ 10 เดือน โดยจะหยุด 2 เดือน คือ เดือนพฤศจิกายนและธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ป่าจาก   อ่านเพิ่มเติม

ปลาฝังทราย

    


ปลาเค็มฝังดินทรายนั้น เป็นวิธีการถนอมอาหารโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยการนำวัตถุดิบคือปลาทะเล มาผ่านกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ดังนี้  อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่

 


ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่เป็นแหล่งแร่ที่สำคัญของจังหวัดระนองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ แร่ดีบุก และแร่ดินขาว ซึ่งเป็นลักษณะของเหมืองฉีด หรือเหมืองแล่น มีเพียงส่วนน้อยที่มีการทำแบบเหมืองหาบ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมในระดับชุมชนที่แทบจะไม่มีให้พบเห็นในประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม

หอยแมลงภู่ทรายแดง

 


หอยแมลงภู่ จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคาเป็นหอยสองฝา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย กล่าวคือ ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร   อ่านเพิ่มเติม

ศิลาจารีกสลักปรมาภิไธย ย่อ จปร.

 


ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางบกและทางเรือประพาสรอบแหลมมลายูเมื่อ ร.ศ.109 หรือ พ.ศ.2433 ในคราวนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพรจากเมืองชุมพรมายังเมืองกระ (กระบุรี) เพื่อตรวจราชการแผ่นดิน และความเป็นอยู่ของราษฎร เมื่อเสด็จมาถึงแนวเขตแดนระหว่างจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง อ่านเพิ่มเติม

เกาะพยาม

 


วัดเกาะพยาม วัดแห่งนี้คือพระอุโบสถที่สร้างไว้กลางทะเล บนหลังคาประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางลีลาหันหน้าออกสู่ทะเล  อ่านเพิ่มเติม

จวนเจ้าเมืองระนอง


 บราณสถานแห่งนี้ปรากฏหลักฐานตามพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จ ฯ ประพาสแหลมมลายู เมื่อ รศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) ทำให้ทราบว่าเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (แม่เล็ก) สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ลูกโต) สมเด็จพระศรีเสาวรินทิราบรมราชินี (แม่กลาง) คราวเสด็จประพาสเมืองระนอง รศ.๑๐๙ เป็นนิวาสสถานเดิมของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) เจ้าเมืองคนแรกในสมัยรัชกาลที่ ๓ อ่านเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปตำบลเชี่ยวเหลียง

 


ตำบลเชี่ยวเหลียงก็ถือเป็นอีกหนึ่งตำบลที่มีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน โดยได้มีการริเริ่มโดยนางจีรนันท์ ภาคอารีย์ ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านย่านยาว หมู่ที่ 2 ตำบลเชี่ยวเหลียง ที่ได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต อ่านเพิ่มเติม

กศน.ตำบล ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต

กศน.ตำบล หมายถึง  หน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล อ่านเพิ่มเติม

 

พ่อตาโชงโดง

 

เขาพ่อตาโชงโดงเป็นยอดเขาที่สูงประมาณ 975 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเป็นจุดที่สุดในจังหวัดระนอง อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกโตนเพชร

 


  น้ำตกโตนเพชร ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลราชกรูด ห่างจากเขตเทศบาลเมืองระนอง 29 กิโลเมตร (ระนอง-พังงา) กิโลเมตรที่ 641น้ำตกโตนเพชร อยู่หมู่ที่ 4 ตำบลราชกรูด ขึ้นกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน ต้นน้ำเกิดจากภูเขาพ่อตาโชงโดง ซึ่งเป็นภูเขาสูงที่สุดในจังหวัดระนอง อ่านเพิ่มเติม

คลองลัดโนด

 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และเชิงอนุรักษ์ที่เป็นรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มคนในชุมชนที่อาศัยและทำมาหากินอยู่บนฐานทรัพยากรป่าชายเลนของอ่าวกะเปอร์ทะเลสาบระนอง โดยมีกิจกรรมหลากหลายทั้งนั่งเรือพรีสชมระบบนิเวศน์ป่าชายแลนและชมทัศนียภาพของอ่าวกะเปอร์ ทะเลสาบระนอง  อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงบ้านบุรีรัมย์

 


ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านบุรีรัมย์ตำบลในวงใต้ มีความพร้อมในการที่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี มีอาคารฝึกอบรม พร้อมเครื่องขยายเสียง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่พักจำนวน 2 หลัง ลักษณะของที่พักเป็นอาคารไม้จำนวน 1 หลัง และครึ่งปูนครึ่งไม้ 2 ชั้นจำนวน 1 หลัง ชั้นล่างเป็นสถานที่ฝึกอบรมหรือจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่พัก มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำ  อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยว จุดชมวิวบ้านหมอลำ

 





บ้านในวง อยู่ในหุบเขาโอบล้อมต้วยผืนป่า ในอดีตเป็นที่อาศัยของมนุษย์ยุคโบราณกว่า 2000 ปี ช่วง
บุกเบิกชุมชนเป็นช่วงที่ไร่กาแฟกำลังได้รับความนิยมในแถบชุมพรซึ่งเป็นจังหวัดใกล้เคียง จึงต้องการแรงงานจำนวนมาก หลายครอบครัวมาจากจังหวัดทางภาคอีสานและย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เช่น บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี ด้วยกันมานานกว่า 20 ปี กลายเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้สวน  อ่านเพิ่มเติม


อุทยานประวัติศาสตร์สงครามโลก ครั้งที่ 2

 

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนองได้รับแจ้งว่า โครงการก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 4 สายชุมพร-ระนอง ได้ขยายถนนเพชรเกษม จาก 2 ช่องทางเป็น 4 ช่องทางการจราจร ขณะกำลังตักดินไหล่ทางลงไประยะ 1 เมตร เพื่อขยายถนน ได้ขุดพบเหล็กรางรถไฟโบราณ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อายุไม่ต่ำกว่า 70 ปี อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมอีสาน


ชาวอีสานได้นําวัฒนธรรมอีสานติดตัวมาด้วย  จึงทําให้เห็นว่าในพื้นที่อําเภอกะเปอร์ การแต่งกาย  อาหารการกิน  ยังคงเป็นอัตลักษณ์ของชาวอีสาน   ซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมที่ได้สานต่อมานานกว่า  30ปี   อ่านเพิ่มเติม

จุดชมวิวควนเขากล้อง

 




จุดชมวิวควนเขากล้อง อยู่ในตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง จุดชมวิวอยู่ระหว่างรอยต่อตำบลละอุ่นเหนือและตำบลในวงเหนือของอำเภอละอุ่น ทีมาของจุดชมวิวควนเขากล้องเมื่อก่อนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีไม้ไผ่กล้องขึ้นเป็นจำนวนมากและเป็นพื้นที่ลาดชันหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า (ควน) ต่อมามีถนนตัดผ่านไปยังบ้านในวง จึงมีชื่อว่า ควนเขากล้อง และได้มีการพัฒนาเป็นจุดชมวิวควนเขากล้องที่สวยงาม น่าจะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จึงมีการพัฒนา เพื่อทำเป็นจุดชมวิว อ่านเพิ่มเติม

ห้องสมุดประชาชนอำเภอละอุ่น


เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญประเภทหนึ่ง ที่จัดหาและรวบรวมสารสนเทศประเภทต่าง ๆ โดยมีการจัดระบบหมวดหมู่ตามหลักสากล และให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ ศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน คือ ให้บริการหนังสือและสื่อ อื่น ๆ เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวสาร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประชาชนควรทราบ ทำการศึกษาค้นคว้าส่งเสริมงานให้บริการวิชาใหม่ๆ และการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ปลูกฝังและสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ประชาชนในทุกช่วงวัย อ่านเพิ่มเติม

กะปิบางหิน

 


กะปิ ทุกวันนี้มีความสำคัญและจำเป็นมากกับวิถีชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่คู่ครัวไทย เช่น น้ำพริก ผัด ต้ม แกง เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานของคนไทยทั้งสิ้น ประชาชนจึงคิดจะนำภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมมาแปรรูป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค เนื่องจากในตัวกุ้ง มีไอโอดีน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน รสชาติอร่อย และมีกลิ่นหอม อ่านเพิ่ม